ลักขณา สริวัฒน์ (2557 : 185-188)
ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
( Constructivism) ไว้ดังนี้
( Constructivism) ไว้ดังนี้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
( Constructivism) แนวคิ ดการสร้างความรู้ด้วยตนเองมีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์
ซึ่งมีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา
ทฤษฎีด้านจิตวิทยาเริ่มต้นด้วยเพียเจต์ (Piaget) ที่เสนอไว้ว่า
การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นเอกนัย และวีกอทสกี (Vygotsky.
1978) ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่าเกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น
ซึ่งผลงานเขาเป็นที่ยอมรับกันในประเทศรัสเซียและเริ่มเผยแพร่สู่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆในยุโรป
สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของออซูเบล (Ausubel)
และเพียเจต์ (Piaget) ผู้เขียนได้รวบรวมองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. หลักการสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย
1)
ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct)
ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมโดยใช้กระบวนการทางปัญญา
(Cognitive Apparatus) ของตน
2)
การเรียนรู้ตามแนว (Constructivism)
โดยโครงสร้างทางปัญญาเป็นผลของความพยายามทางความคิด
ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเองผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้
แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
3)
การที่ผู้เรียนไม่ได้รับเอาข้อมูลและเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที
แต่จะแปลความหมายของข้อมูลความรู้เหล่านั้น
โดยประสบการณ์ของตนและเสริมขยายและทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย
4)
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละบุคคลได้สร้างความรู้ขึ้นและทำให้สำเร็จโดยผ่านกระบวนการของความสมดุล
ซึ่งกลไกของความสมดุลเป็นการปรับตัวของตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อยู่ในสภาพสมดุลที่ประกอบด้วยกระบวนการ
2 ประการคือ
4.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (Assimilation)
เป็นกระบวนการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและซึมซับหรือดูดซึมเอาประสบการณ์ใหม่เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
โดยสมองจะปรับเอาประสบการณ์ใหม่เข้ากับความคิด
ความรู้ในโครงสร้างที่เกิดจากการเรียนรู้เดิมที่มีอยู่
4.2) การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation)
เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการซึมซับหรือดูดซึมคือ เมื่อได้ซึมซับเอาประสบการณ์ใหม่เข้าไปในโครงสร้างเดิมแล้วจะทำการปรับประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองก่อนแล้ว
แต่ถ้าเข้ากันไม่ได้ก็จะทำการสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรับประสบการณ์ใหม่นั้น
2. ลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองประกอบด้วย
1)
ขั้นแรกเริ่มจากประเด็นปัญหาที่ผู้เรียนมีความสนใจ
ซึ่งประเด็นปัญหานั้นต้องเป็นสิ่งที่เด็กให้ความสำคัญหรือสนใจ
เพราะเป็นการสร้างแรงจูงใจเบื้อต้นในการเรียนรู้หรือครูทำให้เด็กเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิต
เรียกขั้นนี้ว่า Assimilation
2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม
เป็นเรื่องธรรมดาที่บุคคลต้องการจะเรียนรู้ในสิ่งใดต้องคิดทบทวนว่าเรามีความรู้ในสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใดเพื่อจะวางกลไกหรือสร้างยุทธศาสตร์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และการเกิดการถ่ายโอน (Transfer)
ในสถานการณ์นี้อาจทำให้เกิดภาวะไม่สมดุล (Disequilibrium)
ซึ่งจะทำให้บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในสภาพสมดุล (Equilibrium) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation)
3)
ขั้นแสวงหาหนทางหรือทางเลือกด้วยกระบวนการรู้คิด (Cognition)
ซึ่งในสถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่ผู้เรียนใช้ข้อมูลพื้นฐานของตัวเองนำมาไตร่ตรองอย่างเป็นระบบดำเนินการตรวจสอบ
ประเมินเพื่อคลี่คลายไปสู่ความกระจ่างแจ้งในประเด็นปัญหา (Accommodation)
จากลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองนี้สามารถนำมาใช้ในการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวีกอทสกี
(Vygotsky) โดยการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ พ่อ
แม่ และเพื่อนในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Context)
จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่เข้มข้นอย่างสมจริงจากประสบการณ์ที่หลากหลายจนเกิดองค์ความรู้
สำหรับลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism ทั้งสามขั้นจะนำไปสู่การเกิดโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive
Structure) และก่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ลึกซึ่งและตรึงแน่นอยู่ในความทรงจำตลอดไป
3. การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ดำเนินการได้ ดังนี้
1)
กฎเกณฑ์ของผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา
หรือ Constructivism นั้น
ผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนควรออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริงๆ
และเป็นปัญหาในชีวิตจริงของผู้เรียน
ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนต่างก็มีความต้องการและมีประสบการณ์ซึ่งสามารถประยุกต์นำไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงและต้องการสร้างองค์ความรู้เหล่านั้น
ผู้จัดการเรียนการสอนควรจัดเตรียมหากลุ่มหรือชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิกิริยาต่อกันและได้คิดแก้ปัญหาต่างๆ
ผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรช่วยเหลือโดยการแนะแนวทางและสั่งสอนหรือฝึก (Coaching) สำหรับวิธีการจัดการเรียนการสอนเมื่อใช้แนวคิดของ Constructivism
จะจัดเป็นรูปแบบการเรียนการสอนดังนี้
1.1) กรณีศึกษา (Case Studies)
หรือการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้
1.2) การนำเสนอผลงานหรือชิ้นงานให้ปรากฏแก่สายตาหลายด้านหลายมิติหรือการจัดทำสื่อแนะแนวทางให้เสนอแนะแนวทางให้เสนอแนะ (Presenting Work Production)
1.3) การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน (Coaching)
1.4) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)
1.2) การนำเสนอผลงานหรือชิ้นงานให้ปรากฏแก่สายตาหลายด้านหลายมิติหรือการจัดทำสื่อแนะแนวทางให้เสนอแนะแนวทางให้เสนอแนะ (Presenting Work Production)
1.3) การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน (Coaching)
1.4) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)
1.5) การเรียนรู้โดยการสืบค้น (Discovery
Learning)
1.6) การเรียนรู้โดยการกำหนดสถานการณ์ (Situational
Learning)
2)
การใช้ Constructivism ภายใต้เงื่อนไขที่มีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้แก่
2.1) การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นในกระบวนการที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียน
2.2)
ผู้เรียนจะรวบรวมจัดองค์ความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่แล้วจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับความเข้าใจในสถานการณ์ใหม่ๆ
และสถานการณ์ที่ต่างกันตามที่ได้มา
2.3) แหล่งการเรียนรู้หรือทรัพยากรที่หลากหลายมีลักษณะที่แตกต่างกันในจำนวนมากเท่าที่สามารถจัดหามาได้เพื่อช่วยเหลือในการสืบค้น
2.4) มีเวลาเพียงพอที่จะสามารถทำผลงานชิ้นงาน หรือทำการปฏิบัติการใดๆ
สำหรับผู้เรียนในการสืบค้นและประเมินผลองค์ความรู้
3)
ทักษะต่างๆใดๆก็ตามที่ควรได้รับการเรียนรู้ด้วย Constructivism เช่น
การประดิษฐ์คิดค้นผลงานด้วยความรวดเร็วจากการใช้กระบวนการของคอมพิวเตอร์
การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างและมีน้ำไหลผ่าน
การวิจัยหาวิธีบำบัดรักษาตัวเองจากโรคต่างๆได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองแม้เป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนจะไม่เน้นการให้เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
แต่เน้นที่ตัวผู้เรียนและประสบการณ์ของผู้เรียนซึ่งหมายความว่า
การที่ผู้เรียนไม่รับเอาหรือเก็บเอาไว้แต่เฉพาะข้อมูลที่ได้รับแต่ต้องแปลความของข้อมูลเหล่านั้นด้วยประสบการณ์และมีแรงเสริมขยายตลอดจนการทดสอบการแปลความนั้นอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นทฤษฎี
Constructivism นั้นจึงมีจุดด้อยคือ
ผู้เรียนที่มีความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีนัยสำคัญต่อผลการเรียนรู้ของการเรียนการสอน
มิใช่ว่าจะมาทำนายว่าพวกเขามีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด
เพราะว่าผู้เรียนทั้งหลายต่างกำลังสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) นั่นคือผลของการทำงานหรือการสร้างผลงานต่างๆ
ล้วนต้องการผลงานเหมือนกันทุกครั้ง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปในการเรียน โครงงานจากสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
เป็นต้น ซึ่งดูที่ผลผลิตแล้วจะไม่ตรงกับแนวคิดของ Constructivism
สยุมพร ศรีมุงคุณ
(https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)ไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)
เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
เลิศชาย ปานมุข (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivism)ไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่ารับความรู้
ดังนั้นเป้าหมายของการสอน จะสนับสนุนกระบวนการสร้างมากกว่าการรับรู้
ดังนั้นเป้าหมายของการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอด ความรู้
จึงได้มุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล
และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายของความเป็นจริง จากความเชื่อดังกล่าว จึงส่งผลให้แนวทางจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง
Constructivism เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่า
เป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน
ที่มา
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สยุมพร
ศรีมุงคุณ. [ออนไลน์]
https://www.gotoknow.org/posts/341272. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2558.
เลิศชาย
ปานมุข.
[ออนไลน์] http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2. ทฤษฎีการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25
กรกฎาคม 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น