ทิศนา แขมมณี (2553: 85-89) ได้กล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญาไว้ดังนี้
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)
ทฤษฎีการเรียนรู้
ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
(Harvard University) ในปี ค.ศ. 1983 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Frames of Mind
: The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมาก
และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
การ์ดเนอร์ (Gardner , 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา” หมายถึง
ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆหรือสร้างสรรค์ผลงานต่างๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเอจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ซึ่งเขาบอกว่า
ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น
และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา
ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
เชาวน์ปัญญา
8 ด้าน ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
1. เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (linguistic
intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า “broca’s area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน
การเขียน การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด
การประพันธ์ การแต่งเรื่อง เป็นต้น
2. เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ
(logical mathematical intelligence) ผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านการให้เหตุผลเชิงตรรกะ มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์
มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆ ให้เหตุผล
ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
3. สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (spatial
intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดนสมองซีกขวา
และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ
การใช้สีการสร้างสรรค์งานต่างๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
4. เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (musical intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา
แต่ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้
จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี เป็นต้น
5. เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (bodily
– kines-thetic intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียนว่าคอร์เท็กซ์
โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย
สติปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น
ในการเล่นกีฬา และเกมต่างๆ การใช้ภาษาท่าทาง การเต้นรำ เป็นต้น
6. เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (interpersonal
intelligence) เชาวน์ปัญญาทางด้านนี้ ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า
ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น เป็นต้น
7. เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (intrapersonal
intelligence) บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณา
ไตร่ตรอง มองคนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง
มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่างๆ
จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และความที่จะคิดคนเดียว เป็นคน
8. เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (naturalist
intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆรอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางด้านนี้
มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว
และมักจะชอบและสนใจสัตว์ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
การมองและเข้าใจเชาวน์ปัญญาในความหมายต่างกัน
ย่อมก่อให้เกิดการกระทำที่แตกต่างกัน ทฤษฎีพหุปัญญา
ได้ขยายขอบเขตของความหมายของคำว่าปัญญาออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นจากเดิม
ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางเช่นกัน
แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการเรียนการสอนมีหลากหลายดังนี้
1. เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน
ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆด้าน
มิใช้มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาวน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
2. เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน
3.
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน
กานผสมผสานของความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์
หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน
สยุมพร ศรีมุงคุณ
(https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้กล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญา
(Theory of Multiple Intelligences)ไว้ว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2
ประการ คือ
1.
เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic
intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
-
สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา
ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ
ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน
ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น
รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน
และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ
การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ
อีกวิธีหนึ่ง
เลิศชาย
ปานมุข (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2)
ได้กล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)ไว้ว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ
2 ประการ คือ
1.
เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic
intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical
intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist
intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
2.
เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
สรุป
“ทฤษฎีพหุปัญญา” ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of
Multiple Intelligences) ของการ์ดเนอร์ ซึ่งได้แบ่งเชาวน์ปัญญา
หรือสติปัญญาของบุคคล ออกเป็น 8 ด้าน ดังนี้
1. เชาวน์ปัญญาด้านภาษา
(Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ
ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา
และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความหรือนักการเมือง
2. เชาวน์ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล
การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. เชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
(Visual-Spatial Intelligence) คือ
ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง
และตาแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน
มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
จะมีทั้งสายวิทยาศาสตร์ และสายศิลปะศาสตร์ ทางด้านสายวิทยาศาสตร์ ก็มักเป็น
นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลปะศาสตร์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร
นักวาดรูป นักเขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
4.
เชาวน์ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic
Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุม และแสดงออกซึ่งความคิด
ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์
ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต
และความไวทางประสาทสัมผัส สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา
หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ต์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical
Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ
และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจา และการแต่งเพลง
สามารถจดจาจังหวะ ทานอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง
เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6.
เชาวน์ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์
และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้าเสียง
สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง
สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จาเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน
แต่สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คาปรึกษา
นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง
หรือนักธุรกิจ
7. เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก
ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ
และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง
เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน
หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง
หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง
ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จาเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน
เพื่อให้สามารถดารงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข
สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. เชาวน์ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
(Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก
และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ
ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ
มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
หรือนักสำรวจธรรมชาติ
ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน
: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่
12). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สยุมพร ศรีมุงคุณ.
[ออนไลน์] https://www.gotoknow.org/posts/341272. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2558.
เลิศชาย
ปานมุข. [ออนไลน์] http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2. ทฤษฎีการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น